TOP

แบตสำรอง เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

แบตสำรอง เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นแบตสำรอง (power bank) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนในปัจจุบันมากขึ้นทุกวัน เนื่องมาจากความนิยมใช้อุปกรณ์พกพาชนิดต่างๆที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต อุปกรณ์ฟังเพลง และเครื่องเล่นเกมส์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนล้วนต้องชาร์จไฟทั้งสิ้น และหลายครั้งแบตกลับมาหมดระหว่างวัน ทำให้การใช้งานเหล่านี้สะดุดลง

วิธีแก้ปัญหาเรื่องแบตเตอรีหมดระหว่างวันที่ได้รับความนิยมคือการพกแบตสำรอง แบตสำรองเหล่านี้มีให้เลือกหลายแบบ หลายยี่ห้อ หลายขนาดความจุ แล้วแต่ความต้องการและงบประมาณในกระเป๋าของแต่ละคนค่ะ

วิธีการเลือกซื้อ power bank (แบตสำรอง)

1. ชนิดของแบตเตอรี่

ชนิดของแบตเตอรี่ที่นิยมใช้กับ power bank หรือแบตสำรองมีอยู่ 2 ชนิด คือ แบบลิเธียมไอออน (Lithium Ion) และแบบลิเธียมโพลิเมอร์ (Lithium Polymer) โดยที่แบบลิเธียมโพลิเมอร์จะมีราคาสูงกว่าแต่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เช่นเดียวกับแบตมือถือ ดังนั้นถ้างบประมาณถึง ก็สามารถเลือกแบบลิเธียมโพลิเมอร์ได้ แต่ถ้างบประมาณจำกัด การเลือกใช้แบบลิเธียมไอออนก็ไม่ได้เสียหายอะไร

2. ความจุของ power bank

โดยทั่วไปความจุของแบตสำรองจะมีตั้งแต่ 2,000 – 30,000 มิลลิแอมป์ (mAh) โดย Power bank ที่มีความจุสูงก็จะสามารถบรรจุไฟได้มาก สามารถชาร์จไฟให้อุปกรณ์ต่างๆได้หลายครั้งหรือหลายอุปกรณ์ แต่ก็ต้องแลกมากับระยะเวลาการชาร์จเพื่อเก็บประจุ (Input) นานหน่อย โดยเฉพาะพวกที่มีความจุเกน 20,000 mAh อาจจะต้องชาร์จไฟเข้านานกว่า 10 ชั่วโมงเลยทีเดียว อีกทั้งราคาจะสูงขึ้นตามความจุของแบตที่สามารถเก็บได้อีกด้วย

3. ความเร็วในการชาร์จไฟ (Input)

ควรเลือกแบตสำรองที่มีระยะเวลาการชาร์จไฟเพื่อเก็บประจุที่เหมาะสม ไม่นานเกินไป วิธีการคำนวณง่ายๆ เช่น ถ้าแบตสำรองมีความจุ 20,000 mAh และมีค่า Input เท่ากับ 1.0 Ah เราต้องใช้เวลาการชาร์จไฟถึง 20 ชั่วโมง Power Bank ถึงจะเก็บไฟได้เต็มความจุ แต่ถ้าเลือก Power Bank ที่มีค่า Input 2.0 Ah ก็จะใช้เวลาชาร์จไฟเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น

4. ความเร็วในการชาร์จอุปกรณ์ (Output)

ความเร็วในการชาร์จไฟให้กับอุปกรณ์พกพาของเรา (Output) ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการ Input ไฟเข้า Power bank เราต้องเลือกแบตสำรองที่มีค่า Output ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ของเรา ตัวอย่างเช่น ถ้าเราใช้ iPad Mini ที่มีความจุแบตเตอรี 4,490 mAh และแบตเตอรีสำรองของเรามีค่า Output เท่ากับ 1.0 Ah เราต้องเสียเวลาชาร์จไฟเท่ากับ 4.490 ชั่วโมง (4 ชั่วโมงครึ่ง) แต่ถ้าแบตสำรองเรามีค่า Output 2.1 Ah ก็จะใช้เวลาชาร์จไฟเพียง 2 ชั่วโมง เป็นต้น

5. อุปกรณ์ที่เราใช้ (Devices)

การเลือกแบตสำรองที่ดี ควรคำนึงถึงชนิดอุปกรณ์ที่เรากำลังใช้อยู่ด้วยว่าแบตเตอรีมีความจุเท่าใด เช่น iPhone 5 มีขนาดแบต 1,440 mAh, Samsung Galaxy S4 มีความจุแบต 2,400 mAh และ iPad 9.7นิ้ว ราวๆ 12,000 mAh เป็นต้น ถ้าเราใช้ทั้ง 3 อุปกรณ์นี้ และต้องการแบตเตอรี่สำรองที่มีขนาดพอที่จะชาร์จไฟให้ทั้ง 3 อุปกรณ์นี้พร้อมกัน เราต้องมีแบตสำรองขนาดเท่ากับ 1,440 + 2,400 + 12,000 = 15840 mAh ขึ้นไป เป็นต้น

6. ความเร็วของการคายประจุ

ความเร็วในการคายประจุ หรือ การสลายตัวของประจุนั้นเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อแบตสำรอง เนื่องจากเป็นตัวที่ชี้ว่าถ้าเราทิ้งแบตสำรองไว้เฉยๆ ความจุแบตจะค่อยๆลดลงไปเอง ทำให้ไม่สามารถชาร์จอุปกรณ์พกพาของเราได้อย่างเต็มที่ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการแสดงค่าการสลายตัวของประจุไฟบนแบตเตอรีสำรองทั้งหลาย ทำให้ตรวจสอบได้ยากมาก แต่มีข้อสังเกตุว่าหากซื้อ power bank ที่มีราคาถูกมากๆ เรามักได้รับเครื่องที่มีประสิทธิภาพไม่สูง ชิ้นส่วนต่างๆมักมีมาตรฐานต่ำ และพบว่ามีค่าการคายประจำสูงอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อแบตสำรองที่มีราคาถูกจนผิดสังเกตุ

7. ราคา (Price)

แน่นอนว่าราคาเป็นตัวแปรที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งในการเลือกซื้อแบตสำรอง ในตลาดมีแบตเตอรีสำรองหลากหลายราคาให้เลือกซื้อ โดยมีราคาตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทไปจนถึงหลายพันบาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ความจุ ค่า Input/output และชนิดของแบตเตอรี่ที่ใช้

Read More